.
.
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
****************************************
1.1 ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
1.2 ความสามารถในการสื่อสาร
1.3 ความสามารถในการคิด ประดิษฐ์สร้างสรรค์
1.4 เป็นพลโลกที่มีสุขภาวะและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโลก
หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพิบูลมังสาหาร พัฒนาโดยยึดรูปแบบโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นสำคัญ กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษามีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ สาระพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งแสดงเป็นแผนภูมิ การเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกายความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ เต็มตามศักยภาพ
หลักการของหลักสูตร
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มีหลักการสำคัญ ดังนี้
จุดหมายของหลักสูตร
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ดังนี้
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนด คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติม ให้สอดคล้องตามบริบท และจุดเน้นของตนเอง
มาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล นึกถึงหลักการพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา จึงกำหนดให้ผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในการตรวจสอบ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้แบบการประเมินคุณภาพภายใน และภายนอก ระบบตรวจสอบช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษา ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามที่มาตรฐาน การเรียนรู้กำหนดเพียงใด
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอนและเป็นเกณฑ์สำคัญ สำหรับการวัดประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
- กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษาวิชาทหาร
- กิจกรรมชุมนุม ชมรม
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จัดโครงสร้างเวลาเรียน โดยยึดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำ สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และจัดเวลาเรียนเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นให้เหมาะสมตามสภาพของผู้เรียนและบริบทของโรงเรียน ดังนี้
สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดเวลาเรียนตามกำหนด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีละ 120 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 120 ชั่วโมง เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน (ชุมนุม ลูกเสือ เนตรนารี รักษาดินแดน หรือบำเพ็ญประโยชน์) และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ดังนี้
ระดับชั้น |
เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชั่วโมง) |
|||||
1. กิจกรรมแนะแนว |
2. กิจกรรมนักเรียน |
3. กิจกรรมเพื่อสังคม |
||||
ชุมนุม |
ลูกเสือ |
รักษา |
ผู้บำเพ็ญ |
|||
ม.1 |
40 |
40 |
40 |
- |
|
|
ม.2 |
40 |
40 |
40 |
- |
|
|
ม.3 |
40 |
40 |
40 |
- |
|
|
ม.4 |
40 |
40 |
- |
40 |
|
|
ม.5 |
40 |
40 |
- |
40 |
|
|
ม.6 |
40 |
40 |
- |
40 |
|
โครงสร้างเวลาเรียน
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ / กิจกรรม |
เวลาเรียน |
|||
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย |
|||
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
ม.1 |
ม.2 |
ม.3 |
ม.4-6 |
ภาษาไทย |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
240 (6 นก.) |
คณิตศาสตร์ |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
240 (6 นก.) |
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
240 (6 นก.) |
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม -ประวัติศาสตร์ -ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม -หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและ การดำเนินชีวิตในสังคม -ภูมิศาสตร์ -เศรษฐศาสตร์ |
160 (4 นก.) 40 (1 นก.)
120 (3 นก.) |
160 (4 นก.) 40 (1 นก.)
120 (3 นก.) |
160 (4 นก.) 40 (1 นก.)
120 (3 นก.) |
320 (8 นก.) 80 (2 นก.)
240 (6 นก.) |
สุขศึกษาและพลศึกษา |
80 (2 นก.) |
80 (2 นก.) |
80 (2 นก.) |
120 ( 3 นก.) |
ศิลปะ |
80 (2 นก.) |
80 (2 นก.) |
80 (2 นก.) |
120 ( 3 นก.) |
การงานอาชีพ |
80 (2 นก.) |
80 (2 นก.) |
80 (2 นก.) |
120 ( 3 นก.) |
ภาษาต่างประเทศ |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
120 (3 นก.) |
240 (6 นก.) |
รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน) |
880 (22 นก.) |
880 (22 นก.) |
880 (22 นก.) |
1,640 (41 นก.) |
เวลาเรียนวิชาเพิ่มเติมตาม ความพร้อมและจุดเน้นของสถานศึกษา |
200 (5 นก.) |
200 (5 นก.) |
200 (5 นก.) |
ไม่น้อยกว่า 1600 ชั่วโมง |
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน |
120 |
120 |
120 |
360 |
รวมเวลาเรียนทั้งหมด |
ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง / ปี |
รวม 3 ปี ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง |