.


.

ผู้อำนวยการสถานศึกษา


นายพุฒิเมธ  พวงจันทึก

ผู้อำนวยการ
เชี่ยวชาญ

รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

****************************************

  1. แนวทางส่งเสริมพัฒนานักเรียนสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

        1.1  ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

  1.        ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้ มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับดี
  2. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้ มีความสามารถ ความถนัด เฉพาะทางที่โดดเด่น
  3. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนเป็นที่ยอมรับ สามารถถ่ายโอนกับสถานศึกษาระดับต่างๆ ของนานาชาติได้
  4. มีอัตราการศึกษาต่อในระดับสูงถึงระดับอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  5. มีความสามารถในการเรียนรู้ รู้จักแหล่งเรียนรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ มีทักษะด้านข้อมูลที่จะทำให้สามารถวิเคราะห์ ประเมิน สังเคราะห์และใช้ข้อมูลสารสนเทศ สามารถใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

        1.2  ความสามารถในการสื่อสาร

  1. สามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศที่สองในการฟัง พูด อ่าน เขียนและ    การสื่อสารอื่นๆ ได้ดี
  2. มีทักษะการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  สามารถสื่อความหมายแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดผ่านสื่อ เครื่องมือและวิธีการสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิผล

        1.3  ความสามารถในการคิด ประดิษฐ์สร้างสรรค์

  1. มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าเผชิญความเสี่ยง สามารถใช้ความคิดระดับสูง มีเหตุผลและวางแผนจัดการสู่เป้าหมายได้
  2. มีความสามารถประดิษฐ์ คิดค้น ออกแบบ สร้างสรรค์ สื่อสาร เผยแพร่ด้วยวิธีการ เครื่องมือและ เทคโนโลยีที่เหมาะสม

        1.4  เป็นพลโลกที่มีสุขภาวะและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโลก

  1. มีความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
  2. มีความรู้ ความเข้าใจและยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน (Human Right)
  3. มีความรู้ ความเข้าใจยอมรับและตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Diversity)
  4. ความสำนึก ตระหนักในความสำคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม
  5. มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice)
  6. มีความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง
  7. มีขันติต่อความแตกต่างขัดแย้ง สามารถเจรจาต่อรอง เชื่อมประสาน เพื่อลดปัญหาหรือคลายปมขัดแย้งโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง (Conflict Resolution)
  8. มีความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐานเศรษฐกิจ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้ (Interdependence)
  9. มีความสามารถในการประเมินค่า เกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก และผลที่กระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสำคัญ และค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชน (Values & Perceptions)
  10. มีความรู้ ความเข้าใจ หรือความจำเป็นในการจรรโลง  รักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปราศจากการ ทำลายโลกใบนี้ เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในรุ่นต่อไป โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) 
  11. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหลักการและสถาบัน จำเป็นต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นประเทศและระดับโลก
  12. มีบทบาทและมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย

 

  1. โครงสร้างหลักสูตร โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพิบูลมังสาหาร พัฒนาโดยยึดรูปแบบโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  เป็นสำคัญ  กล่าวคือ  หลักสูตรสถานศึกษามีองค์ประกอบ 3 ส่วน    ได้แก่  สาระพื้นฐาน  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้  สาระเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ซึ่งแสดงเป็นแผนภูมิ    การเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร  ดังนี้

 

  

 

  1. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตร
    แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    พุทธศักราช 2551

วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
      หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกายความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้   เต็มตามศักยภาพ

หลักการของหลักสูตร

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มีหลักการสำคัญ ดังนี้

  1. เป็นหลักสูตรการศึกษา เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติมีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ  เจตคติและคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
  2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ
  3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
  4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้เวลาและการจัดการเรียนรู้
  5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการสื่อสารสองภาษาล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงาน อย่างสร้างสรรค์ร่วมกันรับผิดชอบสังคมโลก
  6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

จุดหมายของหลักสูตร

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
  3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย
  4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ในการพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้

          สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ               5 ประการ ดังนี้

  1. 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งเอกสารมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆการเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีตนเองและสังคม
  2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบ เพื่อไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ  เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศเข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ประยุกต์ ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนด้วยตนเองการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม  การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก  ดังนี้

  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  2. ซื่อสัตย์ สุจริต
  3. มีวินัย
  4. ใฝ่เรียนรู้
  5. อยู่อย่างพอเพียง
  6. มุ่งมั่นในการทำงาน
  7. รักความเป็นไทย
  8. มีจิตสาธารณะ

นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนด คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติม ให้สอดคล้องตามบริบท และจุดเน้นของตนเอง

มาตรฐานการเรียนรู้

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล  นึกถึงหลักการพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา  จึงกำหนดให้ผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ดังนี้

  1. ภาษาไทย
  2. คณิตศาสตร์
  3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม
  5. สุขศึกษาและพลศึกษา
  6. ศิลปะ
  7. การงานอาชีพ
  8. ภาษาต่างประเทศ

          ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในการตรวจสอบ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้แบบการประเมินคุณภาพภายใน และภายนอก  ระบบตรวจสอบช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษา ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามที่มาตรฐาน         การเรียนรู้กำหนดเพียงใด

ตัวชี้วัด

          ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติได้  รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้  จัดการเรียนการสอนและเป็นเกณฑ์สำคัญ สำหรับการวัดประเมินผล  เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

  1. ตัวชี้วัดชั้นปี
  2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น

สาระการเรียนรู้

          สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. กิจกรรมแนะแนว
  2. กิจกรรมนักเรียน

                    -  กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษาวิชาทหาร

                    -  กิจกรรมชุมนุม  ชมรม

  1. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
  2. การจัดเวลาเรียน

          โรงเรียนพิบูลมังสาหาร  จัดโครงสร้างเวลาเรียน โดยยึดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำ  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ตามข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 และจัดเวลาเรียนเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นให้เหมาะสมตามสภาพของผู้เรียนและบริบทของโรงเรียน  ดังนี้

  1. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง  คิดน้ำหนักของรายวิชาเป็นหน่วยกิต  ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน  มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต (นก.) เวลารวมทั้งสิ้นตลอด 3 ปี ไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมง/ปี ตามแนวทางการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
  2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง  คิดน้ำหนักของรายวิชาเป็นหน่วยกิต  ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน  มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต (นก.) เวลารวมทั้งสิ้นตลอด 3 ปี ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง/ปี 

 

          สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  จัดเวลาเรียนตามกำหนด  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีละ 120 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 120 ชั่วโมง  เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว  กิจกรรมนักเรียน (ชุมนุม ลูกเสือ เนตรนารี รักษาดินแดน หรือบำเพ็ญประโยชน์) และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ดังนี้

 

 

 

 

 

ระดับชั้น

เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชั่วโมง)

1. กิจกรรมแนะแนว

2. กิจกรรมนักเรียน

3. กิจกรรมเพื่อสังคม
และสาธารณประโยชน์

ชุมนุม

ลูกเสือ
เนตรนารี

รักษา
ดินแดน

ผู้บำเพ็ญ
ประโยชน์

ม.1

40

40

40

-

 

ม.2

40

40

40

-

 

ม.3

40

40

40

-

 

ม.4

40

40

-

40

 

ม.5

40

40

-

40

 

ม.6

40

40

-

40

 

 

 

 โครงสร้างเวลาเรียน

     ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)                

     กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ / กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ม.1

ม.2

ม.3

ม.4-6

ภาษาไทย

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

240 (6 นก.)

คณิตศาสตร์

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

240 (6 นก.)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

240 (6 นก.)

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

-ประวัติศาสตร์

-ศาสนา  ศีลธรรม จริยธรรม

-หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและ

การดำเนินชีวิตในสังคม

-ภูมิศาสตร์

-เศรษฐศาสตร์

160 (4 นก.)

40 (1 นก.)

 

 

120 (3 นก.)

160 (4 นก.)

40 (1 นก.)

 

 

120 (3 นก.)

160 (4 นก.)

40 (1 นก.)

 

 

120 (3 นก.)

320 (8 นก.)

80 (2 นก.)

 

 

240 (6 นก.)

สุขศึกษาและพลศึกษา

80 (2 นก.)

80 (2 นก.)

80 (2 นก.)

120 ( 3 นก.)

ศิลปะ

80 (2 นก.)

80 (2 นก.)

80 (2 นก.)

120 ( 3 นก.)

การงานอาชีพ

80 (2 นก.)

80 (2 นก.)

80 (2 นก.)

120 ( 3 นก.)

ภาษาต่างประเทศ

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

120 (3 นก.)

240 (6 นก.)

รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน)

880 (22 นก.)

880 (22 นก.)

880 (22 นก.)

 1,640  (41 นก.)

เวลาเรียนวิชาเพิ่มเติมตาม

ความพร้อมและจุดเน้นของสถานศึกษา

200 (5 นก.)

200 (5 นก.)

200 (5 นก.)

ไม่น้อยกว่า 1600 ชั่วโมง

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

120

120

360

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง / ปี

รวม 3 ปี

ไม่น้อยกว่า

  3,600 ชั่วโมง

 

 


โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
29/3 เทศบาล 2 ตำบลพิบูล  อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 34110   โทร.045-442347
facebook : โรงเรียนพิบูลมังสาหาร       E-Mail : phibun1.school@gmail.com
Copyright © 2024 Phibunmangsahan School  Rights Reserved.